sun

มะรุมกับประโยชน์เพื่อการบำรุงผิวพรรณ

อัพเดทล่าสุด 2 months, 1 week ที่แล้ว

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

        มะรุม (Drumstick tree, Horseradish tree) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Moringa oleifera Lam. (1-2) เป็นพืชในชื่อวงศ์ MORINGACEAE (1) มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ ได้แก่ เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กาแน้งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ) เป็นพืชที่สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย โดยในบางพื้นที่อาจขึ้นเองตามธรรมชาติ มีการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคอย่างแพร่หลาย ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้ลวกกินเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ฝักอ่อนและแก่ใช้ประกอบอาหารประเภทแกงชนิดต่างๆ ซึ่งจากรายงานสรรพคุณพื้นบ้านตามตำรายาไทยพบว่ามะรุมทุกส่วนมีประโยชน์ทางยาที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่เป็นการใช้ในรูปแบบการกิน ในปัจจุบันมีการนำสารสกัดจากมะรุมมาเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางอย่างแพร่หลายและมีงานวิจัยต่อยอดเพื่อศึกษาถึงฤทธิ์ทางชีวภาพที่สนับสนุนในด้านดังกล่าวมากขึ้น โดยพบว่าส่วนที่นำมาใช้มักเป็นสารสกัดจากใบและน้ำมันจากเมล็ด ซึ่งจากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีพบว่า มีกลุ่มสารออกฤทธิ์ที่พบมากได้แก่ สารประกอบฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ กลูโคซิโนเลต ไอโซไธโอไซยาเนต และอัลคาลอยด์ เป็นต้น (3-10)

        จากการรวบรวมข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสกัดจากมะรุมเพื่อดูแลสุขภาพผิวพบว่า สารสกัดเมทานอล 80จากใบมะรุม ซึ่งผสมอยู่ในครีมเบสที่ความเข้มข้น 3% เมื่อนำครีมดังกล่าวไปทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัครเพศชายสุขภาพดีจำนวน 11 คน (อายุระหว่าง 20-35 ปี) โดยให้อาสาสมัครทาครีมสารสกัดใบมะรุม 3% ลงบนผิวหน้าด้านหนึ่ง และอีกด้านหนึ่งทาครีมเบสที่ไม่มีสารสกัดใบมะรุม วันละ 2 ครั้ง ช่วงเวลาเช้า และเย็น เป็นระยะเวลานาน 12 สัปดาห์ พบว่าการทาครีมสารสกัดใบมะรุม 3มีผลลดค่าความมันบนใบหน้าของอาสาสมัครในสัปดาห์ที่ 4 จนถึงสัปดาห์ที่ 8 ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับการทาครีมเบส และไม่พบรายงานอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ (11) นอกจากนี้ยังมีผลทำให้ผิวเรียบเนียนขึ้น ลดความหยาบกร้านและลดริ้วรอยร่องลึกบนใบหน้า ลดการสูญเสียน้ำจากชั้นผิวหนัง [skin transepidermal water loss (TEWL)] และเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนัง (skin hydration) ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับการทาครีมเบส ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ครีมบำรุงผิวหน้าที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากใบมะรุม 3มีประสิทธิภาพช่วยทำให้ผิวหน้าชุ่มชื้นและอ่อนเยาว์ขึ้น (12-13) 

        การศึกษาฤทธิ์รักษาความชุ่มชื้นและทำให้ผิวขาวของครีมของผิวหนังของครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันจากเมล็ดมะรุมซึ่งได้จากวิธีการสกัดเย็น โดยทำการผสมลงในครีมเบสและกำหนดให้มีความเข้มข้นของน้ำมันมะรุม 25นำครีมที่ได้ทดสอบในอาสาสมัคร 32 คน โดยทดสอบทาครีมลงบนผิวหนังบริเวณแขนของอาสาสมัครวันละ 2 ครั้ง (ช่วงเวลา 7.00-9.00 น. และ 19.00-21.00 น.) เป็นระยะเวลานาน 4 สัปดาห์ พบว่าค่าความชุ่มชื้นของผิวหนังจากการทาครีมน้ำมันเมล็ดมะรุมเพิ่มขึ้นในทุกสัปดาห์ของการทดลองเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการทดลอง โดยคิดเป็น 16, 76, 77 และ 85ในการวัดที่สัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ ในขณะที่การทาครีมเบสเพิ่มขึ้นเพียง 3, 58, 51 และ 48ตามลำดับ  แสดงให้เห็นว่าครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันจากเมล็ดมะรุมมีฤทธิ์ช่วยคงความชุ่มชื้นของผิวหนังได้ และพบว่าการทาครีมน้ำมันเมล็ดมะรุมมีผลลดค่าเฉลี่ยความแดงของผิวในสัปดาห์ที่ 2, 3 และ ลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการทดลอง อย่างไรก็ตาม ปริมาณเม็ดสีเมลานินไม่มีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการทดลอง ดังนั้นฤทธิ์ช่วยทำให้ผิวขาวและกระจ่างใสของน้ำมันเมล็ดมะรุมจึงยังไม่อาจสรุปได้จากผลการศึกษานี้ (14)

        การศึกษาด้านความปลอดภัยในการใช้สารสกัดจากมะรุมต่อผิวหนังพบว่า สารสกัด 70% เอทานอล สารสกัดเมทานอล และสารสกัดน้ำ จากใบมะรุม นำไปผสมในครีมเบสโดยใช้ความเข้มข้นของสารสกัดในตำรับครีมเท่ากับ 2 และ 4จากนั้นนำครีมที่ได้ไปทดสอบฤทธิ์ก่อระคายเคืองในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 20 คน ด้วยวิธี patch test บริเวณแขนบริเวณระหว่างข้อศอกกับข้อมือ พบว่าครีมสารสกัดใบมะรุมทั้ง 3 ชนิด ทุกความเข้มข้น ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังของอาสาสมัคร โดยมีค่าดัชนีการระคายเคืองที่น้อยที่สุด (minimum irritation index, MII) ต่ำกว่า 0.5 (15) และการศึกษาฤทธิ์ก่อระคายเคืองของครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันจากเมล็ดมะรุมที่ได้จากวิธีการสกัดเย็น โดยทำการผสมลงในครีมเบสและกำหนดให้มีความเข้มข้น 25% ทำการทดสอบฤทธิ์ในอาสาสมัคร 32 คน ด้วยวิธี patch test โดยให้ปิดแผ่นแปะที่มีครีมน้ำมันเมล็ดมะรุมและครีมเบสบริเวณท้องแขน นาน 48 ชม. พบว่า เมื่อครบ 48 ชม. ครีมน้ำมันเมล็ดมะรุมไม่ก่อให้เกิดอาการก่อระคายเคืองต่อผิวหนัง และเมื่อสังเกตต่อไปอีกจนครบ 10 วัน ไม่พบอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ แสดงให้เห็นว่าครีมสารสกัดจากใบมะรุมและนำมันจากเมล็ดมะรุมมีความปลอดภัยสำหรับการใช้เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหนัง (14)

        นอกจากการศึกษาทางคลินิกที่กล่าวไปข้างต้น ยังพบการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากใบและน้ำมันจากเมล็ดของมะรุมที่มีแนวโน้มในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบำรุงรักษาผิวพรรณได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (16-18) ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี (19) และฤทธิ์ป้องกันรังสีจากแสงแดด (14, 20, 21) และยังพบฤทธิ์อื่นๆ ที่สนับสนุนต่อการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้แก่ ฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผม (22) และฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในช่องปาก (23) ทั้งนี้ มะรุมถือเป็นพืชท้องถิ่นที่ปลูกง่าย โตเร็ว ทนโรคและแมลง และสามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทยโดยในบางพื้นที่อาจขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อเพิ่มมูลค่าของสมุนไพร 

        หากมีความสนใจหรือต้องการทราบรายละเอียดข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของมะรุมในการประโยชน์ทางด้านเครื่องสำอาง สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในจุลสารข้อมูลสมุนไพรฉบับ 40(3) เมษายน 2566

เอกสารอ้างอิง

1. ราชันย์ ภู่มาสมราน สุดดีบรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สักนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช2557. 

2. Moringa oleifera Lam. The plant list. [Internet]. 2012 [cited 2020 Dec 7]. Available from: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-21400003

3. Dhakad AK, Ikram M, Sharma S, Khan S, Pandey VV, Singh A. Biological, nutritional, and therapeutic significance ofMoringa oleifera Lam. Phytother Res. 2019;33(11):2870-2903. 

4. Xu YB, Chen GL, Guo MQ. Antioxidant and anti-inflammatory activities of the crude extracts of Moringa oleifera from Kenya and their correlations with flavonoids. Antioxidants (Basel). 2019;8(8):296. 

5. Chin CY, Jalil J, Ng PY, Ng SF. Development and formulation of Moringa oleifera standardised leaf extract film dressing for wound healing application. J Ethnopharmacol. 2018;212:188-199.

6. Rodríguez-García T, Camacho-Díaz BH, Jiménez–Aparicio AR, SantaolallaTapia J, EvangelistaLozano S, ArenasOcampo ML. Cell proliferation and migration in human skin fibroblasts induced by Moringa oleifera. Rev Bras Farmacogn. 2021; doi: 10.1007/s43450-021-00160-7.

7. Luetragoon T, Pankla Sranujit R, Noysang C, Thongsri Y, Potup P, Suphrom N, et al. Bioactive compounds in Moringa oleifera Lam. leaves inhibit the pro-inflammatory mediators in lipopolysaccharide-Induced human monocyte-derived macrophages. Molecules. 2020;25(1):191. 

8. Luetragoon T, Pankla Sranujit R, Noysang C, Thongsri Y, Potup P, Suphrom N, et al. Bioactive compounds in Moringa oleifera Lam. leaves inhibit the pro-inflammatory mediators in lipopolysaccharide-Induced human monocyte-derived macrophages. Molecules. 2020;25(1):191. 

9. Leone A, Spada A, Battezzati A, Schiraldi A, Aristil J, Bertoli S. Moringa oleifera seeds and oil: characteristics and uses for human health. Int J Mol Sci. 2016;17(12):2141. 

10. Jaja-Chimedza A, Graf BL, Simmler C, Kim Y, Kuhn P, Pauli GF, et al. Biochemical characterization and anti-inflammatory properties of an isothiocyanate-enriched moringa (Moringa oleifera) seed extract. PLOS One 2017;12(8):e0182658.

11. Ali A, Akhtar N, Khan MS, Khan MT, Ullah A, Shah MI. Effect of Moringa oleifera on undesirable skin sebum secretions of sebaceous glands observed during winter season in human. Biomed Res-India. 2013;24(1):127-30. 

12. Ali A, Akhtar N, Chowdhary F. Enhancement of human skin facial revitalization by moringa leaf extract cream. Postepy Dermatol Alergol. 2014;31(2):71-76.

13. Ali A, Akhtar N, Khan MS, Rasool F, Iqbal FM, Khan MT, et al. Moisturizing effect of cream containing Moringa oleifera (Sohajana) leaf extract by biophysical techniques: In vivo evaluation. JMPR. 2013;7(8):386-391. 

14. Ahikomkulchai S, Tunit P, Tadtong S, Jantrawut P, Sommano SR, Chittasupho C. Moringa oleifera seed oil formulation physical stability and chemical constituents for enhancing skin hydration and antioxidant activity. Cosmetics. 2021;8(1):2. 

15. Baldisserotto A, Buso P, Radice M, Dissette V, Lampronti I, Gambari R, et al. Moringa oleifera leaf extracts as multifunctional ingredients for "Natural and Organic" sunscreens and photoprotective preparations. Molecules. 2018;23(3):664.

16. Hendrawati H, Azizah YN, Hapsari NK. Facial mask formulation enriched with moringa leaves (Moringa oleifera) extract and their activity as antioxidants and antibacterials. Jurnal Kimia Valensi. 2020;6(2):198-207. 

17. บัลกีส มานะ, นูรีซัน นิสัน, ศุภรัตน์ ดวนใหญ่, สุชาดา มานอก. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากใบมะรุมที่พบในชุมชนศรีภูมิในพื้นที่ฝั่งธนบุรี. ว. เภสัชศาสตร์อีสาน. 2560;13(2): 80-9. 

18. Nizioł-Łukaszewska Z, Furman-Toczek D, Bujak T, Wasilewski T, Hordyjewicz-Baran Z. Moringa oleifera L. extracts as bioactive ingredients that increase safety of body wash cosmetics. Dermatol Res Pract. 2020;2020:8197902. 

19. Zeitoun H, Michael-Jubeli R, El Khoury R, Baillet-Guffroy A, Tfayli A, Salameh D, et al. Skin lightening effect of natural extracts coming from Senegal botanical biodiversity. Int J Dermatol. 2020;59(2):178-183.

20. Gaikwad M, Kale S. Formulation and In vitro evaluation for sun protection factor of Moringa oleifera Lam (Family-Moringaceae) oil sunscreen cream. Int J Pharm Pharm Sci. 2011;3(4):371-5.

21. Kale S, Gaikward M, Bhandare S. Determination and comparision of In vitro SPF of topical formulation containing lutein ester from Tagetes erecta L. flowers, Moringa oleifera Lam seed oil and Moringa oleifera Lam seed oil containing lutein ester. IJRPBS. 2011;2(3):1220-4. 

22. Builders PF, Mbah CC, Iwu IW, Builders MI, Audu MM. Moringa oleifera ethosomes a potential hair growth activator: effect on rats. J Pharm Biomed Sci. 2014;4(7):611-8. 

23. Elgamily H, Moussa A, Elboraey A, EL-Sayed H, Al-Moghazy M, Abdalla A. Microbiological assessment of Moringa oleifera extracts and its incorporation in novel dental remedies against some oral pathogens. Open Access Maced J Med Sci. 2016;4(4):585-90.

 

grass