sun

มะหาดกับงานวิจัยทางด้านเครื่องสำอาง

อัพเดทล่าสุด 2 months, 1 week ที่แล้ว

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

            มะหาด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artocarpus lacucha Buch.-Ham. จัดอยู่ในวงศ์ MORACEAE (1) ชื่อท้องถิ่น ได้แก่ กาแย ตาแป ตาแปง หาด และมะหาดใบใหญ่ (2) พบได้ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย มีสรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นบ้านตามภูมิปัญญาไทย แก่นและเนื้อไม้ใช้แก้ผื่นคันและแก้โรคผิวหนัง (3-5) และมีงานวิจัยของแก่นไม้มะหาดพบว่ามีการศึกษาทางคลินิกและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ทางด้านเครื่องสำอาง ดังต่อไปนี้

             จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของแก่นไม้มะหาดพบสารประกอบ polyphenolics ต่าง ๆ โดยเฉพาะสารกลุ่ม stilbenoids สาร oxyresveratrol ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่พบในแก่นไม้มะหาด (6-8) มีการศึกษาทางคลินิก ทดสอบสารสกัดน้ำแก่นมะหาด โดยต้มชิ้นเล็ก ๆ ของแก่นมะหาดในน้ำเดือด นำไปทำให้แห้งได้ผงสีเหลือง ทดสอบในอาสาสมัครเพศหญิงอายุระหว่าง 20 - 48 ปี จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มแรกจะได้รับสารละลาย (solution) ที่เตรียมจากสารสกัดมะหาด 0.25% w/v 5 หยด ที่ละลายใน propylene glycol ทาบริเวณต้นแขนด้านนอกข้างหนึ่ง ครั้ง/วัน อีกข้างหนึ่งให้ทา propylene glycol เพียงอย่างเดียว (self-control) ทำการทดสอบเป็นเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มที่ ได้รับสารละลายที่เตรียมจากสารสกัดชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra; licorice) 0.25% และกลุ่มที่ ได้รับสารละลายที่เตรียมจาก 3% kojic acid  ทดสอบในรูปแบบเดียวกัน วัดปริมาณเม็ดสีเมลานินในทุกสัปดาห์ของการทดสอบด้วยเครื่อง Mexameter วัดร้อยละการลดลงของปริมาณเม็ดสีเมลานิน (% reduction in melanin content) เปรียบเทียบกับช่วงเริ่มการทดสอบ นำมาคำนวณหาร้อยละของความขาวของผิว (% whitening) ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดมะหาดมีผลทำให้ผิวขาวขึ้นในระยะเวลาสั้นที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นั่นคือมีผลทำให้ผิวขาวขึ้นหลังจากทดสอบ สัปดาห์ รองลงมาคือกลุ่มที่ได้รับ kojic acid (สัปดาห์) และกลุ่มที่ได้รับสารสกัดชะเอมเทศ (10 สัปดาห์) และทำการทดสอบต่อในอาสาสมัครเพศหญิงกลุ่มละ 25 คน โดยเตรียมตำรับโลชันชนิดไขมันในน้ำ (oil in water emulsion) ผสมสารสกัดมะหาด 0.1% w/ทาผิวต้นแขนด้านหนึ่งวันละครั้ง อีกด้านหนึ่งให้ทาโลชันที่ไม่มีส่วนผสมของสารสกัด (lotion base)และอีกกลุ่มหนึ่งได้รับโลชันผสมสารสกัดชะเอมเทศ 0.1% w/w ทดสอบในรูปแบบเดียวกัน วัดปริมาณเม็ดสีเมลานินทุกสัปดาห์จนกระทั่งสัปดาห์ที่ ของการทดสอบ และทำการทดสอบซ้ำอีกครั้งในอาสาสมัครเพศหญิงกลุ่มละ 15 คน แต่เปลี่ยนจากการทดสอบบริเวณผิวต้นแขนมาเป็นการทาโลชันบริเวณแก้มแบ่งออกเป็นข้างซ้าย ขวา ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มที่ได้รับโลชันผสมสารสกัดมะหาดมีผลทำให้ผิวขาวขึ้นมากกว่า lotion base จากการทดสอบบริเวณต้นแขน % whitening เพิ่มขึ้นจาก 1.00% ที่สัปดาห์ที่ เป็น 1.51% และ 2.23% ที่สัปดาห์ที่ และ ตามลำดับ และที่สัปดาห์ที่ มีค่า 2.21% ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับโลชันผสมสารสกัดชะเอมเทศมีผลทำให้ผิวขาวขึ้นช้ากว่า พบว่าที่สัปดาห์ที่ มีค่า % whitening เท่ากับ 1.76% และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่สัปดาห์ที่ มีค่าเท่ากับ 2.12% โดยไม่พบอาสาสมัครที่มีอาการผื่นผิวหนัง (skin rashes) หรืออาการแพ้รุนแรงใด ๆ (hypersensitivity reactions) จากการทดสอบบริเวณแก้ม กลุ่มที่ได้รับสารสกัดมะหาดมีผลทำให้ผิวขาวขึ้นเล็กน้อยมีค่า % whitening ที่สัปดาห์ที่ และ เท่ากับ 1.47% และ 1.63% ตามลำดับ  ใกล้เคียงกับกลุ่มที่ได้รับสารสกัดชะเอมเทศมีค่า % whitening ที่สัปดาห์ที่ 3 และ 4 เท่ากับ 1.31% และ 1.85% ตามลำดับ (6) การทดสอบทางคลินิกการพัฒนาตำรับโลชันทาตัวที่เตรียมจาก “ปวกหาด” ซึ่งได้จากการนำแก่นมะหาด มาต้มเคี่ยวกับน้ำทำให้เกิดฟองขึ้น เมื่อช้อนฟองออกมาตากแห้งจะได้ผงสีนวลจับกันเป็นก้อน นำไปย่างไฟจนเหลือง เรียกก้อนที่ได้ว่า “ปวกหาด” ทำการศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 30 คน ให้ทาโลชันที่เตรียมจากปวกหาด (ความเข้มข้น 0.1% ในตำรับ) บริเวณต้นแขนด้านนอก วันละ ครั้ง เช้าและเย็น ต่อเนื่องเป็นเวลา สัปดาห์ และประเมินผลการทดสอบโดยใช้เครื่อง cutometer ร่วมกับหัววัด corneometer (วัดความชุ่มชื้น) และหัววัด mexameter (วัดปริมาณเม็ดสีเมลิน) ก่อนและหลังใช้โลชัน รวมทั้งให้อาสาสมัครประเมินความพึงพอใจต่อสี กลิ่น และความเนียนของเนื้อโลชัน ความหนืดของเนื้อโลชัน การกระจายบนผิวหนัง และการดูดซึมของโลชันเข้าสู่ผิวหนัง หลังจากใช้โลชันที่เตรียมจากปวกหาดเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการทดสอบพบว่าอาสาสมัครทุกคนมีความชุ่มชื้นของผิวหนังเพิ่มขึ้น ซึ่งแตกต่างจากก่อนใช้ นอกจากนี้ในอาสาสมัครที่ไม่มีปัจจัยรบกวน ได้แก่ การขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ การเล่นกีฬา การทำกิจกรรมกลางแจ้ง การสวมเสื้อแขนสั้นหรือเสื้อกล้ามจำนวน 16 คน พบว่าจำนวนเม็ดสีเมลานินลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อใช้โลชันเป็นระยะเวลา สัปดาห์ การประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัครพบว่าอาสาสมัครส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อกลิ่น ความเนียน ความหนืด การกระจายตัว การดูดซึมของโลชันเข้าสู่ผิวหนัง และความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (7) และมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่ามะหาดมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์เร่งปฏิกิริยาตั้งต้นของกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานินและเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวคล้ำ (6, 8-9) ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (10, 11) และต้านการอักเสบ (12)

            มะหาดเป็นสมุนไพรที่มีการนำแก่นไม้มาใช้ประโยชน์ แก่นมะหาดประกอบด้วยสารสำคัญคือ สาร oxyresveratrol และมีการศึกษาทางคลินิกพบว่ามีผลในการทำให้ผิวขาว รวมทั้งการศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์เร่งปฏิกิริยาตั้งต้นของกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานินและเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวคล้ำ จึงส่งผลช่วยลดปริมาณเม็ดสีเมลานินของผิวหนัง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาทางคลินิก รวมทั้งฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ จึงเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอาง อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสารสกัดมะหาด ความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารสกัดมะหาดในตำรับต่าง ๆ รวมทั้งการทดสอบความปลอดภัย 

 

เอกสารอ้างอิง

1.     Artocarpus lacucha Buch.-Ham.  The plant list. [Internet]. 2012 [cited 2020 Dec 7]. Available from: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2654005.

2.     ราชันย์ ภู่มาสมราน สุดดีบรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย  เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้  สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช; 2557.

3.     นันทวัน บุณยะประภัศรอรนุช โชคชัยเจริญพร (บรรณาธิการ). สมุนไพร..ไม้พื้นบ้าน (3). กรุงเทพฯ: บริษัท ประชาชน จำกัด; 2542.

4.     สุธรรม อารีกุล. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของประเทศไทย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2552.

5.     เอื้อมพร วีสมหมายปณิธาน แก้วดวงเทียน. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด; 2552.

6.     Tengamnuay P, Pengrungruangwong K, Pheansri I, Likhitwitayawuid K. Artocarpus lakoocha heartwood extract as a novel cosmetic ingredient: evaluation of the in vitro anti-tyrosinase and in vivo skin whitening activities. Int J Cosmet Sci. 2006;28(4):269-76.

7.     Poonsuk P, Lueangingkhasut P, Mekjaruskul C. Development of body lotions prepared from `Puag-Haad´. IJPS. 2016;11:61-9.

8.     Panichakul T, Rodboon T, Suwannalert P, Tripetch C, Rungruang R, Boohuad N, et al. Additive effect of a combination of Artocarpus lakoocha and Glycyrrhiza glabra extracts on tyrosinase inhibition in melanoma B16 cells. Pharmaceuticals (Basel). 2020;13(10):310. doi: 10.3390/ph13100310.

9.     จิรัชดาภา ปลื้มลมัย, ศุภมาส สาทนิยม. โลชันสมุนไพรเพื่อผิวขาว. โครงการพิเศษปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2550.

10.  Singhatong S, Leelarungrayub D, Chaiyasut C. Antioxidant and toxicity activities of Artocarpus lakoocha Roxb. heartwood extract. J Med Plants Res. 2010;4(10):947-53. 

11.  Povichit N, Phrutivorapongkul A, Suttajit M, Leelapornpisid1 P. Antiglycation and antioxidant activities of oxyresveratrol extracted from the heartwood of Artocarpus lakoocha Roxb. Maejo Int J Sci Technol. 2010;4(03):454-61.

12.  Hankittichai P, Buacheen P, Pitchakarn P, Na Takuathung M, Wikan N, Smith DR, et al. Artocarpus lakoocha extract inhibits LPS-induced inflammatory response in RAW 264.7 macrophage cells. Int J Mol Sci. 2020;21(4):1355. doi: 10.3390/ijms21041355

grass